top of page

แผนการดำเนินโครงการ

เดือน
การดำเนินงาน

เดือนที่ 1

การเตรียมการดำเนินโครงการ

เดือนที่ 2

  • ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการบุคลากรในกลุ่มอาชีพ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องรับทราบถึงโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพทางสื่อช่องทางต่างๆ

  • ประสานงานกับผู้ประกอบการบุคลากรในกลุ่มอาชีพ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องและบุคคลโดยทั่วไป เพื่อเชิญเข้าร่วมการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ

  • ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชีพเป้าหมาย เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ

  • นำเสนอข้อมูลผลการศึกษาวิเคราะห์กรอบ วิธีการ แผนการดำเนินงาน บทบาทหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ รวมทั้งให้คำปรึกษาหรือแนะนำแนวทางและรับฟังความคิดเห็น จากคณะรับรอง มาตรฐานอาชีพ คณะทำงาน ผู้ประกอบการ บุคลากรและผู้ทรงคุณวุฒิในกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้อง

เดือนที่ 3-6

  • จัดประชุมเชิงปฏิบัติการรวมทั้งให้คำปรึกษาแก่คณะทำงานเพื่อจัดทำแผนภาพหน้าที่งาน (Functional Analysis)

  • จัดประชุมรวมทั้งให้คำปรึกษาหรือแนะนำแนวทางเชิงปฏิบัติการแก่คณะทำงานเพื่อจัดทำหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence)

  • เสนอผลการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพต่อคณะรับรองมาตรฐานอาชีพเพื่อพิจารณาเห็นชอบ

  • จัดสัมมนาประชาพิเคราะห์ นำเสนอผลการจัดทำมาตรฐานอาชีพและรับฟังความคิดเห็น โดยเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน

  • เสนอชื่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกและเห็นชอบในการเป็นผู้ประเมินคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพ

เดือนที่ 7-10

  • จัดทำการประเมิน เครื่องมือประเมินและข้อสอบที่ใช้ในการทดสอบความรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญ

  • วิเคราะห์มาตรฐานอาชีพเพื่อจัดทำเครื่องมือประเมินในแต่ละหน่วยสมรรถนะ

  • กำหนดวิธีการประเมินและสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการประเมินตามแนวทางการประเมินในทุกขั้นตอน

  • จัดทำข้อสอบข้อเขียนทดสอบความรู้ให้ครอบคลุมทุกเกณฑ์การปฏิบัติงานพร้อมทั้งแนวคำตอบ

  • ประเมินคุณภาพของเครื่องมือประเมินและข้อสอบ

เดือน 11-12

จัดทำและประเมินเครื่องมือการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการบุคลากรในกลุ่มอาชีพ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รับทราบถึงผลการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ทางสื่อช่องทางต่างๆ​

bottom of page